โครงการ GSP ของสหรัฐอเมริกา

ระบบ GSP สหรัฐอเมริกา

การให้สิทธิ GSP

สหรัฐอเมริกาได้เริ่มโครงการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) แก่ประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนา ทั้งนี้รวมถึงประเทศไทยด้วย ตั้งแต่ปี 2519 เป็นต้นมา เพื่อเปิดโอกาสให้สินค้าจากประเทศที่ได้รับสิทธิ GSP สามารถเข้าไปแข่งขันในตลาดสหรัฐฯ

ระยะเวลาของโครงการ

การให้สิทธิ GSP ของสหรัฐฯ แบ่งออกเป็น 3 โครงการ ดังนี้
โครงการที่ 1 : วันที่ 1 มกราคม 2519 – วันที่ 3 มกราคม 2528
โครงการที่ 2 : วันที่ 4 มกราคม 2528 – วันที่ 30 กรกฎาคม 2538
โครงการที่ 3 : วันที่ 31 กรกฎาคม 2538 – วันที่ 31 พฤษภาคม 2540
ต่ออายุครั้งที่ 1 : วันที่ 1 มิถุนายน 2540 – วันที่ 30 มิถุนายน 2541
ต่ออายุครั้งที่ 2 : วันที่ 1 กรกฎาคม 2541 – วันที่ 30 มิถุนายน 2542
ต่ออายุครั้งที่ 3 : วันที่ 1 กรกฎาคม 2542 – วันที่ 30 กันยายน 2544
ต่ออายุครั้งที่ 4 : วันที่ 1 ตุลาคม 2544 – วันที่ 31 ธันวาคม 2549
ต่ออายุครั้งที่ 5 : วันที่ 1 มกราคม 2550 – 31 ธันวาคม 2551
ต่ออายุครั้งที่ 6 : วันที่ 1 มกราคม 2552 – 31 ธันวาคม 2552
ต่ออายุครั้งที่ 7 : วันที่ 1 มกราคม 2553 – 31 ธันวาคม 2553
ต่ออายุครั้งที่ 8 : วันที่ 1 มกราคม 2554 – 31 กรกฎาคม 2556
ต่ออายุครั้งที่ 9 : วันที่ 1 สิงหาคม 2556 – 31 ธันวาคม 2560

            ต่ออายุครั้งที่ 10  วันที่ 1 มกราคม 2561 – 31 ธันวาคม 2563

ขอบเขตของสินค้าภายใต้สิทธิ GSP

สหรัฐฯ ให้สิทธิ GSP สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม ประมาณกว่า 3,500 รายการ ซึ่งส่วนใหญ่
จะเป็นสินค้าอุตสาหกรรม ประเทศที่ได้รับสิทธิทั้งหมด 121 ประเทศ ซึ่งเป็นประเทศ
ด้อยพัฒนา 43 ประเทศ

คุณสมบัติของประเทศที่อยู่ในข่ายได้รับสิทธิ GSP

     (1) ระดับการพัฒนาประเทศ : โดยพิจารณาจาก GNP per capita ของ World Bank
(ปี 2557 สหรัฐฯ กำหนดไม่เกิน 12,735 เหรียญสหรัฐฯ)
(2) การเปิดตลาดสินค้าและบริการ : ต้องมีการเปิดตลาดสินค้าและบริการอย่างสมเหตุผล
(3) การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา : ประเทศผู้รับสิทธิจะต้องมีระบบการคุ้มครองทรัพย์สิน
ทางปัญญาอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ

(4) การคุ้มครองสิทธิแรงงาน : จะต้องมีการคุ้มครองสิทธิแรงงานในระดับที่เป็นที่ยอมรับ
ของนานาชาติ

(5) กำหนดนโยบายลงทุนที่ชัดเจน และลดข้อจำกัดทางการค้าของประเทศที่ได้รับสิทธิ

(6) ให้การสนับสนุนสหรัฐฯ ในการต่อต้านการก่อการร้าย

สินค้าที่มีคุณสมบัติอยู่ในข่ายที่จะได้รับสิทธิ GSP

     (1) ต้องเป็นสินค้าที่อยู่ในบัญชีสินค้าที่ได้รับสิทธิ GSP
(2) ต้องเป็นสินค้าที่นำเข้าโดยตรงจากประเทศประเทศผู้รับสิทธิ
(3) ต้องผลิตถูกต้องตามกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of Origin)

(4) ผู้นำเข้าสินค้าจะต้องยื่นขอใช้สิทธิ duty free ภายใต้ GSP

หลักเกณฑ์ว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า

     (1) สินค้านั้นจะต้องผลิตขึ้นโดยใช้วัตถุดิบในประเทศผู้รับสิทธิทั้งหมด หรือ กรณีที่มีวัตถุดิบ
หรือส่วนประกอบนำเข้าจากต่างประเทศ จะต้องมีส่วนประกอบวัตถุดิบ ในประเทศรวมกับ
ต้นทุนการผลิตโดยตรงอย่างน้อยร้อยละ 35 ของราคาสินค้าจากโรงงาน (Ex-factory
Price) หรือราคาประเมิน (Appraised Value) ของสินค้านั้นในสหรัฐฯ

     (2) สินค้าจากไทยสามารถผลิตภายใต้กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดแบบสะสม (Cumulative Origin)
ซึ่งไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศ ASEAN จึงสามารถใช้วัตถุดิบร่วมกับประเทศ กัมพูชา
อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเมียนมาร์ โดยถือว่ามาจากแหล่งกำเนิดประเทศเดียวกัน ซึ่งจะต้องมี
อัตราส่วนดังกล่าวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 35 ของราคาสินค้าจากโรงงาน หรือราคาประเมิน
ของสินค้านั้น

มาตรการระงับสิทธิ GSP

ระบบ GSP สหรัฐฯ แบ่งการระงับสิทธิ GSP เป็น 2 ประเภท คือ
     (1) ระงับสิทธิ GSP รายสินค้า ใช้กฎ CNLs เป็นเกณฑ์)
     (2) ระงับสิทธิ GSP รายประเทศ โดยพิจารณาจาก GNP per capita ของ World Bank
(ปี 2557  เท่ากับ 12,735 เหรียญสหรัฐฯ)

เกณฑ์การระงับสิทธิ GSP

(รายสินค้า)

สินค้าจากประเทศผู้รับสิทธิ GSP จะถูกยกเลิกการให้สิทธิฯ เป็นการชั่วคราวเมื่อการนำเข้าสหรัฐฯ สูงเกินเพดานที่กำหนดภายใต้กฎว่าด้วยความจำเป็นด้านการแข่งขัน (Competitive need limit : CNLs) กล่าวคือ สินค้าใดของประเทศใด จะถูกระงับสิทธิ GSP หากปรากฏว่า มูลค่าส่งออกไปสหรัฐฯ ในปีปฏิทินที่ผ่านมาสูงเกินเพดานที่กำหนดไว้ คือ
-มีส่วนแบ่งตลาดนำเข้าจากสหรัฐฯ ตั้งแต่ร้อยละ 50  แต่มูลค่านำเข้าสหรัฐฯ ของสินค้าดังกล่าวจากทั่วโลก ต่ำกว่ามูลค่าขั้นต่ำ(De Minimis Value) ที่สหรัฐฯ กำหนด  ซึ่งปี 2561 เท่ากับ 24  ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ
-มีมูลค่านำเข้าสหรัฐฯเกินมูลค่าขั้นสูงที่สหรัฐฯ กำหนดไว้ในแต่ละปี  (ในปี 2561 = 185 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) โดยให้เพิ่มขึ้นทุกปีๆ ละ 5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ทั้งนี้  หากมีการนำเข้าสินค้าใดเกินเกณฑ์ดังกล่าว ถือว่าสินค้านั้นมีความสามารถในการแข่งขันที่สูง จึงไม่จำเป็นต้องได้รับสิทธิยกเว้นภาษี GSP ต่อไป จะถูกตัดสิทธิในวันที่ 1 พฤศจิกายนของปีถัดไป

เกณฑ์การขอผ่อนผันคืนสิทธิและไม่ให้ระงับสิทธิ GSP

สินค้าที่ถูกระงับสิทธิสามารถที่จะขอคืนสิทธิหรือผ่อนผันไม่ระงับสิทธิ ได้ 2 วิธี คือ
     (1) ขอคืนสิทธิกรณี Redesignation สินค้าที่ถูกระงับสิทธิ หากปีต่อมามูลค่าการส่งออก
ต่ำกว่าระดับ 
CNL ที่กำหนด ซึ่งปี 2561 สหรัฐฯ กำหนดที่ 185 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
และส่วนแบ่งนำเข้าต่ำกว่าร้อยละ 50

     (2) ขอผ่อนผันไม่ให้ระงับสิทธิกรณี De Minimis Waive สำหรับสินค้าที่มีส่วนแบ่งตลาด
นำเข้าสหรัฐฯ ตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป 

การทบทวนข้อยกเว้น Super CNL Waiver

สินค้าใดที่เคยได้รับยกเว้นเพดานการส่งออก(CNL Waiver) มาแล้วเป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี หรือนานกว่านี้ สินค้านั้นอาจถูกตัดสิทธิ GSP หากการส่งออกสินค้านั้นเข้าสหรัฐฯ เป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้
     (1) มีมูลค่านำเข้าเกินร้อยละ 150 (1.5 เท่า) ของระดับเพดาน CNL ที่สหรัฐฯ กำหนดในปีนั้น
(ปี 2557 = 247.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) หรือ
     (2) มีส่วนแบ่งการนำเข้าเกินร้อยละ 75 ของมูลค่าการนำเข้าสินค้ารายการนั้นของสหรัฐฯ
          ทั้งนี้อยู่ในดุลพินิจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่จะผ่อนผันให้ได้รับสิทธิต่อไปอีกก็ได้

การยื่นขอใช้สิทธิ GSP

ตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมาศุลกากรสหรัฐฯ ได้ยกเลิกการใช้หนังสือรับรอง Form A เป็นหลักฐาน เพื่อขอใช้สิทธิ GSP โดยผู้นำเข้าสหรัฐฯ จะเป็นผู้ดำเนินการร้องขอใช้สิทธิ GSP และรับรองสินค้าด้วยตนเอง (self certificate)  โดยมีแนวปฏิบติ ดังนี้
ผู้ส่งออก  จะต้องเก็บรักษาเอกสาร/ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการผลิตสินค้าเป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี  โดยสามารถชี้แจงข้อเท็จจริงได้ในกรณีที่ศุลกากรสหรัฐฯ ร้องขอตรวจสอบผ่านผู้นำเข้าสหรัฐฯ ชี้แจงในแบบฟอร์ม GSP Declaration
ผู้นำเข้า  เป็นผู้แสดงความจำนงนำเข้าสินค้าโดยขอใช้สิทธิ GSP และยืนยันข้อเท็จจริงทั้งหมดต่อศุลกากรสหรัฐฯ 

Website แนะนำ

โครงการ GSP สหรัฐอเมริกา
http://www.ustr.gov
รายการสินค้าและอัตราภาษีนำเข้าปกติ/อัตราภาษีภายใต้ GSP
http://www.usitc.gov/tata/hts/bychapter/index.htm
สถิติการนำเข้า/ส่งออกของสหรัฐอเมริกา
http://www.dataweb.usitc.gov

โครงการ GSP สหรัฐอเมริกา

คู่มือระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) ของสหรัฐอเมริกา

สหรัฐฯ ประกาศระงับสิทธิ GSP ไทยบางส่วนชั่วคราว

 

1.แถลงข่าวจากสำนักผู้แทนการค้าสหรัฐฯ

https://ustr.gov/about-us/policy-offices/press-office/press-releases/2019/october/ustr-announces-gsp-enforcement

2. ตรวจสอบ รายการสินค้าจำนวน 573 รายการ ที่สหรัฐฯ ระงับการให้สิทธิ GSP แก่ไทยเป็นการชั่วคราว

https://ustr.gov/sites/default/files/files/gsp/Products_to_be_removed_from_GSP_eligibility_for_Thailand.pdf

3. ตรวจสอบ รายการสินค้าที่ได้รับสิทธิ GSP และ อัตราภาษีปกติของสหรัฐฯ

https://hts.usitc.gov/

 

http://www.dft.go.th/th-th/DFT-Service/ServiceData-Information/dft-service-data-privilege/Detail-dft-service-data-privilege/ArticleId/5010/5010

Credit: กรมการค้าต่างประเทศ, กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า  ตุลาคม 2562